แนวความคิดในการกำหนดระบบแรงจูงใจในระบบประเมินผลฯ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจมีกำลังใจในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2538 อนุมัติระบบแรงจูงใจที่สะท้อนระดับผลงาน กล่าวคือ ให้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเมื่อผลงานดี และให้ค่าตอบแทนลดลงเมื่อผลงานตกต่ำลง ซึ่งเป็นหลักการของระบบแรงจูงใจเช่นเดียวกับภาคเอกชน ตลอดจนได้ผ่อนคลายกฎระเบียบของกระทรวงการคลังเป็นการทั่วไปให้รัฐวิสาหกิจที่เข้าระบบประเมินผลฯ และผ่อนคลายกฎระเบียบเพิ่มเติมเมื่อมีผลงานในระดับ “ดีขึ้น” ขึ้นไป
ระบบแรงจูงใจในระบบประเมินผลฯ ประกอบด้วยระบบ ดังนี้
1. ระบบโบนัสพนักงาน ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ
2. ระบบโบนัสคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
3. ระบบการประกาศจัดอันดับผลงานจริงของรัฐวิสาหกิจประจำปี
4. ระบบการให้ความอิสระในการบริหารงาน
5. ระบบการกำหนดวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนค่าจ้างประจำปี (ยกเลิกโดยมติคณะกรรมการกำกับ
นโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2543 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2543 )
การกำหนดระบบแรงจูงใจโดยแบ่งประเภทรัฐวิสาหกิจออกเป็น 4 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 รัฐวิสาหกิจที่ต้องแข่งขันกับภาคเอกชนและได้รับการแปรรูปไปบางส่วน แล้วด้วยการกระจายหุ้นไปในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประเภทที่ 2 รัฐวิสาหกิจประเภทผูกขาดโดยธรรมชาติ (Natural Monopoly) และมี เป้าหมายในการแปรรูปในระยะยาว
ประเภทที่ 3 รัฐวิสาหกิจประเภทหารายได้
3.1 รัฐวิสาหกิจกลุ่มที่มีการควบคุมราคาและบริการจนประสบผลขาดทุน
3.2 รัฐวิสาหกิจที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ 3.1
ประเภทที่ 4 รัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมหรือประเภทที่ไม่แสวงหากำไร
ระบบโบนัสของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ
• รัฐวิสาหกิจประเภท 2 และรัฐวิสาหกิจประเภทที่ 3
กำหนดวงเงินในการจ่ายโบนัส (Bonus Pool) ตามระดับผลงานวงเงินโบนัสมากขึ้นหรือน้อยลงเทียบจากฐานของระบบเดิมดังนี้
ระดับผลงาน (คะแนน)
|
วงเงินบนฐานของร้อยละของกำไรสุทธ ิเพื่อจัดสรรโบนัส
|
วงเงินไม่เกินจำนวนเท่าของเงินเดือน ค่าจ้างเฉลี่ย(เท่า)
|
5 (ดีขึ้นมาก)
|
11
|
8
|
4.5
|
10.5
|
7
|
4 (ดีขึ้น)
|
10
|
6
|
3.5
|
9.5
|
5.5
|
3 (ปกติ)
|
9
|
5
|
2.5
|
8.5
|
4.5
|
2 (ต่ำ)
|
8
|
4
|
1.5
|
7.5
|
3
|
1 (ต่ำมาก)
|
7
|
2
|
• รัฐวิสาหกิจประเภทที่ 4 ประเภทส่งเสริมและไม่หวังผลกำไร
โบนัสรวม = (โบนัสคงที่ตามผลงาน (ส่วนที่ 1) + โบนัสตามผลงานในเชิงพาณิชย์ (ส่วนที่ 2))
ส่วนที่ 1 โบนัสคงที่ตามผลงาน
ระดับผลงาน(คะแนน)
|
จำนวนโบนัสคงที่(เท่าของเงินเดือนค่าจ้างฯ )
|
5 (ดีขึ้นมาก)
|
2
|
4.5
|
1.5
|
4 (ดีขึ้น)
|
1
|
3.5
|
0.75
|
3 (ปกติ)
|
5
|
2.5
|
ไม่มีโบนัส
|
2 (ต่ำ)
|
ไม่มีโบนัส
|
1.5
|
ไม่มีโบนัส
|
1 (ต่ำมาก)
|
ไม่มีโบนัส
|
ส่วนที่ 2 โบนัสตามผลงานในเชิงพาณิชย์
ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมดังกล่าวมีกำไรจากการดำเนินงาน (กำไรที่ ไม่ได้มาจากเงินอุดหนุน) ให้จัดสรรกำไรตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจทั่วไปที่มีกำไร ดังนั้น รัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมจะได้โบนัสรวมกันจากส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ทั้งนี้รวมกันแล้วต้องไม่เกินวงเงินสูงสุดของโบนัสตามเกณฑ์รัฐวิสาหกิจทั่วไปที่มีกำไร
ระบบโบนัสคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
• รัฐวิสาหกิจประเภท 2 และรัฐวิสาหกิจประเภทที่่ 3
ฐานการคำนวณโบนัสเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิมและกำหนดไว้ในช่องผลงานระดับ “ปกติ” และเพิ่มขึ้นหรือ ลดลงจากฐานผลงานระดับ “ปกติ” เป็นร้อยละตามระดับผลงานดีขึ้น หรือต่ำลง ดังนี้
ระดับผลงาน(คะแนน)
|
จำนวนโบนัสที่กรรมการได้รับ (บาท/คน/ปี)
|
5 (ดีขึ้นมาก)
|
ฐาน+100%ของฐาน
|
4.5
|
ฐาน+75%ของฐาน
|
4 (ดีขึ้น)
|
ฐาน+50%ของฐาน
|
3.5
|
ฐาน+25%ของฐาน
|
3 (ปกติ)
|
ฐานเท่ากับจำนวนโบนัสกรรมการต่อคน ที่คำนวณได้จากกำไรสุทธิเพื่อจัดสรรโบนัส ประจำปีบัญชีที่มีการประเมินผลงาน ตามหลักเกณฑ์เดิม
|
2.5
|
ฐาน – 25%ของฐาน
|
2 (ต่ำ)
|
ฐาน – 50%ของฐาน
|
1.5
|
ไม่มีโบนัส
|
1 (ต่ำมาก)
|
ไม่มีโบนัส
|
สำหรับรัฐวิสาหกิจประเภทที่ 3 ที่มีการควบคุมราคาจนประสบผลขาดทุน เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติระบบ PSO แล้ว การจ่ายโบนัสกรรมการจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้นด้วย
• รัฐวิสาหกิจประเภทที่ 4 ประเภทส่งเสริมและไม่หวังผลกำไร
ระดับผลงาน(คะแนน)
|
จำนวนโบนัสที่กรรมการได้รับ (บาท/คน/ปี)
|
5 (ดีขึ้นมาก)
|
25,000
|
4.5
|
20,000
|
4 (ดีขึ้น)
|
15,000
|
3.5
|
10,000
|
3 (ปกติ)
|
5,000
|
2.5
|
ไม่มีโบนัส
|
2 (ต่ำ)
|
ไม่มีโบนัส
|
1.5
|
ไม่มีโบนัส
|
1 (ต่ำมาก)
|
ไม่มีโบนัส
|
ระบบการประกาศจัดอันดับผลงานจริงของรัฐวิสาหกิจประจำปี
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจจะทำรายงานผลการดำเนินงานจริงของรัฐวิสาหกิจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และประกาศผลงานของรัฐวิสาหกิจผ่านสิ่งพิมพ์ หรือวารสารให้ประชาชนทราบเป็น การทั่วไปโดยจัดตามกลุ่มผลงาน ดังนี้
- รัฐวิสาหกิจที่มีผลงานระดับดีขึ้นมาก
- รัฐวิสาหกิจที่มีผลงานระดับดีขึ้น
- รัฐวิสาหกิจที่มีผลงานระดับปกติ
- รัฐวิสาหกิจที่มีผลงานระดับต่ำ
- รัฐวิสาหกิจที่มีผลงานระดับต่ำมาก
ระบบการให้ความอิสระในการบริหารงาน
• รัฐวิสาหกิจประเภท 1 รัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1. กฎระเบียบที่ได้รับการผ่อนคลาย
• การพัสดุ
• การงบประมาณ
• การเงินและการบัญชี
• การจัดองค์การ
• การบริหารงานบุคคล
• การบริหารเงินเดือน ค่าจ้างและผลตอบแทน
• การจัดตั้งบริษัทในเครือ
2. กฎระเบียบที่ยังคงต้องปฏิบัติเนื่องจากมีผลผูกพันรัฐบาลในระยะยาว
• การเพิ่มทุน
• การนำส่งรายได้
• การกู้เงินและการค้ำประกันเงินกู้
• การลงทุนหรืองบลงทุน
• การตรวจสอบภายใน
• รัฐวิสาหกิจประเภท 2 ประเภทที่ 3 และประเภท 4
1. กฎระเบียบที่ได้รับการผ่อนคลายทันที เมื่อเข้าระบบประเมินผลฯ
• การกำหนดอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ
• การกำหนดอัตราเงินเดือนค่าจ้างขั้นต่ำ – ขั้นสูงของพนักงานลูกจ้างทุกตำแหน่ง
• การกำหนดอัตราเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งระดับรองผู้ว่าการหรือรองผู้อำนวยการ
• การกำหนดกลุ่มงาน การปรับขยายระดับตำแหน่งให้สูงขึ้นกว่าที่กำหนดในปัจจุบัน
• ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน
• การให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ
• การจ้างที่ปรึกษาที่ไม่ใช่พนักงาน ภายใต้เงื่อนไขว่า อัตราจ้างต้องไม่เกินอัตรา เบี้ยประชุมของคณะกรรมการ
• การจ่ายเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้นเฉพาะเรื่อง ภายใต้เงื่อนไขไม่เกิน กึ่งหนึ่งของเบี้ยประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ
2. กฎระเบียบที่ได้รับการผ่อนคลายเมื่อผลการดำเนินงานได้ระดับ “ดีขึ้นมาก” หรือ “ดีขึ้น”
• เงินสวัสดิการพนักงาน
- ค่าเล่าเรียนบุตร
- เงินช่วยเหลือบุตร
- ค่าชุดเครื่องแบบ ฯลฯ
• ค่าเช่าบ้าน
• การกำหนดตำแหน่งและอัตรากำลังของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตำแหน่งระดับสูง 3 ตำแหน่งนับจากผู้ว่าการลงมา
3. กฎระเบียบที่ยังคงต้องปฏิบัติอยู่
• การกำหนดอัตราเงินเดือนหรือการขยายอัตราเงินเดือนให้สูงขึ้นสำหรับตำแหน่ง ผู้ว่าการ ผู้อำนวยการ กรรมการผู้จัดการของรัฐวิสาหกิจ หรือ ตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น
• สวัสดิการที่จ่ายให้แก่พนักงานและลูกจ้างเมื่อออกจากงาน
- เงินบำเหน็จ
- เงินกองทุนสงเคราะห์
- เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- เงินบำนาญ
• การเพิ่มทุน
• การนำส่งรายได้แผ่นดิน
• การกู้เงินและการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ
• การลงทุนหรืองบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
• การตรวจสอบภายใน
• การจัดทำแผนวิสาหกิจ
ระบบแรงจูงใจสำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีระบบแรงจูงใจลักษณะพิเศษ
เนื่องจากมีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่มีระบบแรงจูงใจลักษณะเฉพาะ ดังนั้น เมื่อรัฐวิสาหกิจเหล่านี้เข้าระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ให้มีระบบแรงจูงใจและถือปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย ดังนี้
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
|
ให้ถือปฏิบัติการจ่ายโบนัสพนักงานตามหลักเกณฑ์เดิมต่อไป
|
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
|
ให้ถือปฏิบัติการจ่ายโบนัสพนักงานตามหลักเกณฑ์เดิมต่อไป และไม่มีการจ่ายโบนัสกรรมการตามเดิมต่อไป
|
การไฟฟ้านครหลวง
|
ให้ถือปฏิบัติการจ่ายโบนัสพนักงานตามหลักเกณฑ์เดิมต่อไป
|
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
|
ให้ถือปฏิบัติการจ่ายโบนัสพนักงานตามหลักเกณฑ์เดิม จนกว่าจะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่
|
หนังสือเวียน เรื่อง ขอชี้แจงและซ้อมความเข้าใจแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 4/2556 เฉพาะในส่วนการปรับปรุงระบบระบบแรงจูงใจในส่วนของค่าตอบแทน
ที่เป็นตัวเงินตามระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (Download File)