ประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 76 วรรคสาม บัญญัติให้รัฐ
พึงจัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรม
สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว
และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ. จริยธรรมฯ) มาตรา 5 ได้กำหนด
มาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
7 ประการ ประกอบด้วย
1. ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่
3. กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
4. คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ
5. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
6. ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
7. ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
โดยมาตรฐานทางจริยธรรม 7 ประการดังกล่าว ให้ใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรม
ของหน่วยงานของรัฐ และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น อาศัยอำนาจ
ตามมาตรา 6 วรรคสอง (3) แห่ง พ.ร.บ. จริยธรรมฯ ซึ่งกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบาย
รัฐวิสาหกิจ (สคร.) มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ประมวล
จริยธรรมรัฐวิสาหกิจฯ) และมาตรา 14 กำหนดให้การจัดทำประมวลจริยธรรมและข้อกำหนดจริยธรรม
ของหน่วยงานรัฐต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) กำหนด
รวมถึงมาตรา 20 กำหนดให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลแต่ละประเภทและองค์กรตามมาตรา 6
วรรคสอง มีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกระบวนการรักษาจริยธรรม และการประเมินผลการปฏิบัติตาม
ประมวลจริยธรรม รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจจัดหลักสูตรการฝึกอบรม การเผยแพร่ความเข้าใจ
ตลอดจนการกำหนดมาตรการจูงใจเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐ
มีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี และมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงาน
ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม
โดยอาจกำหนดมาตรการเพื่อใช้ในการบริหารงานบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ
ประเภทนั้น ประกอบกับระเบียบ ก.ม.จ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนด
จริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2563 (ระเบียบ
ก.ม.จ. ฯ) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ข้อ 6 กำหนดให้องค์กรที่มี
หน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมดำเนินการจัดทำประมวลจริยธรรมให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันนับตั้งแต่
วันที่ระเบียบ ก.ม.จ.ฯ มีผลใช้บังคับ ข้อ 7 กำหนดว่าการจัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ที่จัดทำขึ้น ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมตามที่กำหนดในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. จริยธรรมฯ
และข้อ 10 กำหนดว่าในการจัดทำประมวลจริยธรรมให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องภายในหน่วยงาน รวมถึงผู้รับบริการและประชาชน
สคร. จึงได้จัดทำประมวลจริยธรรมรัฐวิสาหกิจฯ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตน และรักษาคุณงาม
ความดีที่ผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องยึดถือในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ประมวลจริยธรรมรัฐวิสาหกิจฯ
นี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
- ระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2563
- ประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 64 (ไฟล์ pdf)
- ประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 64 (ไฟล์ word)
เอกสารเผยแพร่
-
ร่างประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564)
แบบรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- แบบรับฟังความคิดเห็นสำหรับรัฐวิสาหกิจ word/pdf
- แบบรับฟังความคิดเห็นสำหรับบุคคลทั่วไป word/pdf
- หนังสือคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ที่ นร (กมจ) 1019 - ว 24 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2564 เรื่อง แนวทางการจัดทำข้อกำหนดจริยธรรมสำหรับหน่วยงานของรัฐ
(สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบเพิ่มเติมจากสำนักงาน ก.พ. ได้ที่นี่) - การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และการรักษาจริยธรรม โดย : ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)
- แนวทางการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมครอบคลุมถึงคณะกรรมการ