5. ประเด็นคำถาม (Q&A) ของหัวข้อการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology: DT)
Q1 จากระดับ 3 ของการประเมิน รัฐวิสาหกิจมีการถ่ายทอดกระบวนการกำกับดูแลด้านการบริหารจัดการ
เทคโนโลยีดิจิทัลแก่ผู้รับผิดชอบ พนักงาน ผู้ส่งมอบคู่ค้าที่สำคัญ ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น
ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนมีการประเมินการรับรู้ของผู้รับผิดชอบ พนักงานผู้ส่งมอบ คู่ค้าที่สำคัญ
ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
คำถาม
- ต้องมีการถ่ายทอดกระบวนการกำกับดูแลด้าน DT ให้ครบถ้วนทุกกลุ่มหรือไม่
- การประเมินการรับรู้ทำได้อย่างไร และต้องมีการแสดงหลักฐานการประเมินการรับรู้อย่างไรได้บ้าง
ตอบ
- ใช่ โดยที่แต่ละกระบวนการจะมี ผู้รับผิดชอบ พนักงาน ผู้ส่งมอบคู่ค้าที่สำคัญ ลูกค้า และ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นผู้รับผิดชอบกระบวนการต้องทำการวิเคราะห์ ผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียทั้งหมดของกระบวนการให้ครบถ้วน - การประเมินการรับรู้ทำได้หลากหลายวิธี เช่น การสำรวจการรับรู้โดยตรงจากแบบสอบถาม
หรือวิธีอื่นๆ กำหนดเป็นกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ การสุ่มตรวจประเมินการรับรู้ เป็นต้น หลักฐานแสดง
การประเมินการรับรู้ ดูจากผลการสำรวจการรับรู้ การละเมิด กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และอื่นๆ
Q2 การประเมินคะแนน หมวด DT ระดับคะแนนที่ได้รับการประเมินจะสามารถได้ในระดับถัดไปต้องผ่านรวมทุกข้อใช่หรือไม่ (ทั้งข้อใหญ่และข้อย่อย ของ DT)
ตอบ
การประเมินของ DT แบ่งเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน ในส่วนของการประเมินส่วนกระบวนการ ซึ่งจะเป็นหัวข้อแรกของทุกข้อ (กระบวนการ) โดยประเมินแบบ Maturity Level คือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ในแต่ละระดับขั้นจะไม่สามารถเลื่อนระดับได้ ส่วนหัวข้อย่อยจะเป็นการประเมินส่วนผลลัพธ์ที่สำคัญที่แต่ละกระบวนการควรจะมีโดยจะพิจารณาเชิงคุณภาพ และความสมบูรณ์แต่ละผลลัพธ์ ซึ่งจะไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบ ในระดับ 2 ของการประเมินแบบกระบวนการ ดังนั้นในการประเมินส่วนกระบวนการจะได้คะแนนระดับ 3 ได้ ก็ต้องมีคะแนนการประเมินส่วนผลลัพธ์ที่ครบถ้วน
Q3 หัวข้อ2 ประเด็นย่อย 2.2 การบริหารโครงการและการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมถึงการบริหารจัดการการระบุและการจัดสร้างกระบวนแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จการจัดสร้างกระบวนแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ คืออะไร
ตอบ
การบริหารจัดการการระบุและการจัดสร้างกระบวนแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จเป็นหนึ่งในกระบวนการของ COBIT 5 BAI 03 บริหารจัดการการระบุและจัดสร้างกระบวนการแห้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ (BAI03 Manage Solutions Identification and Build)
คำอธิบายกระบวนการ
จัดสร้างและดูแลกระบวนการแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จที่ระบุไว้ให้เป็นไปตามข้อกำหนดความต้องการขององค์กร โดยครอบคลุมการออกแบบ การพัฒนา การจัดซื้อ/จัดหา การเป็นพันธมิตรกับผู้ขาย หรือผู้ให้บริการ การบริหารองค์ประกอบของระบบ การเตรียมการเพื่อทดสอบ การทดสอบ การบริหารจัดการ
ความต้องการ ตลอดจนการดูแลกระบวนการทางธุรกิจ ระบบงาน สารสนเทศ/ข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน
และบริการ
สรุป
จะต้องมีการระบุแนวทางในการดำเนินงานต่างๆไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดความต้องการขององค์กร ตั้งแต่เรื่อง การออกแบบ การพัฒนา การจัดซื้อ/จัดหา การเป็นพันธมิตรกับผู้ขายหรือผู้ให้บริการ การบริหารองค์ประกอบของระบบ การเตรียมการเพื่อทดสอบ การทดสอบ การบริหารจัดการความต้องการ ตลอดจนการดูแลกระบวนการทางธุรกิจ ระบบงาน สารสนเทศ/ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานและบริการ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนทุกขั้นตอน
ตัวอย่างเช่น
คู่มือการออกแบบระบบงาน ก็จะต้องมีการระบุขั้นตอนการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่เก็บรวบรวมความต้องการให้ครบถ้วน ประชุมหารือกับเจ้าของระบบ....... ฯลฯ รวมถึงถ้าเจอปัญหาจะพิจารณาแก้ไขอย่างไร ใครมีอำนาจในการตัดสินใจ อย่างนี้เป็นต้น ทุกอย่างต้องระบุให้ชัดเจนทุกขั้นตอนทั้งรายละเอียดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา
Q4 การบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน หากรัฐวิสาหกิจมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนน้อย หรือมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียน้อยราย จะพิจารณาอย่างไร
ตอบ
การประเมินผลในส่วนของการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
จะพิจารณาจาก บริบทของแต่ละองค์กร การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ครบถ้วนตาม Work System หรือ Value chine หรือ Business Model ของแต่ละองค์กร
Q5 การประเมินกระบวนการแบบ Process Maturity Level คืออะไร
ตอบ การประเมินกระบวนการจะใช้การประเมินรูปแบบระดับวุฒิภาวะ (Maturity Level) จะพิจารณาจากการจัดการกระบวนการให้มีแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นระบบ สามารถทำซ้ำได้ (Repeatable Practice)และเป็นมาตรฐาน (Standardized Practice) ซึ่งมีการถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติแบบเดียวกันทั่วทั้งองค์กรโดยมีการวัด วิเคราะห์ และประเมินประสิทธิผลของกระบวนการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนามาปรับปรุง และพัฒนากระบวนการอย่างต่อเนื่อง
Q6 การประเมินด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลมีกระบวนการอะไร
ตอบ การประเมินด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลควรครอบคลุมกระบวนการ ได้แก่
- กระบวนการกำกับดูแลด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Governance)
- กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลและแผนปฏิบัติการประจำปี (Digital Roadmap and Action Plan) กระบวนการสถาปัตยกรรมองค์กร(Enterprise Architecture)
- กระบวนการการจัดการด้านคุณภาพ (Quality Management)
- กระบวนการการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน (Government Integration)
- กระบวนการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance)
- กระบวนการบริหารจัดการความมั่งคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management)
- การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Risk Management)
- กระบวนการตรวจสอบการบริหารจัดการความมั่งคงปลอดภัยสารสนเทศขององค์กร (ISMS Audit)
- กระบวนการบริหารจัดการทรัพย์สินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Asset Management)
- กระบวนการบริหารจัดการคอนฟิกูเรชั่น (Configuration Management)
- กระบวนการบริหารจัดการเหตุการณ์ผิดปกติ การร้องขอการบริการ และปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Incident, Service Requests and Problem Management)
- กระบวนการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management )
- กระบวนการดาเนินการด้านการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม (Resource Optimization Management Implementation)
- กระบวนการบริหารจัดการการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green IT Management)
Q7 หลักการกำกับดูแลด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Governance guiding principle) คืออะไร
ตอบ
การกำกับดูแล (Governance)
การกำกับดูแล ทำให้มั่นใจได้ว่าความต้องการ เงื่อนไข และทางเลือกของผู้มีส่วนได้เสียได้รับการประเมินเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ที่องค์กรต้องการให้บรรลุซึ่งมีความสมดุลและเห็นชอบร่วมกัน การกำหนดทิศทาง ผ่านการจัดลำดับความสำคัญและการตัดสินใจ และการเฝ้าติดตามผลการดาเนินงานและ
การปฏิบัติตามเทียบกับทิศทางและวัตถุประสงค์ที่ได้ตกลงร่วมกันในองค์กรส่วนใหญ่ คณะกรรมการ
บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแล โดยมีประธานบริษัทเป็นผู้นำ
การบริหารจัดการ (Management)
ผู้บริหารวางแผน สร้าง ดำเนินงาน และเฝ้าติดตามกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับทิศทางที่กำหนด
โดยหน่วยงานกำกับดูแล (Governance Body) เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรในองค์กรส่วนใหญ่ ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการ โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้นา
ที่มา : กรอบการดาเนินงานทางธุรกิจสาหรับการกากับดูแลและการบริหารจัดการไอทีระดับองค์กร, COBIT5 ISACA Model for Corporate Governance of Information Technology
โดยรูปแบบ Corporate Governance of Information Technology มีหลักการจำนวน 6 ด้าน ดังนี้
1) หลักการที่ 1 ความรับผิดชอบ (Responsibility)
ธุรกิจ (ลูกค้า) และฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) (ผู้ให้บริการ) ควรร่วมมือกันแบบเป็นพันธมิตรที่มี
การสื่อสารกันอย่างมีประสิทธิผลบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีและมีความเชื่อใจกัน และแสดงถึง
ความชัดเจนในหน้าที่ความรับผิดชอบและความรับผิดชอบในผลงานตามหน้าที่ (accountability) สำหรับในองค์กรขนาดใหญ่ คณะกรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Executive Committee) หรือคณะกรรมการกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Strategy Committee) ปฏิบัติหน้าที่
ในนามของคณะกรรมการบริหารและมีประธานที่แต่งตั้งจากสมาชิกของคณะกรรมการบริหารถือเป็นกลไก
ที่มีประสิทธิผลมากสาหรับการประเมิน สั่งการ และเฝ้าติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยี (IT)
ในองค์กร และสำหรับการแนะนำคณะกรรมการในประเด็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ รวมถึงกรรมการสำหรับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีสายบังคับบัญชาที่ไม่ซับซ้อนและมีเส้นทางการสื่อสารที่สั้นซี่งจำเป็นต้องใช้วิธีปฏิบัติที่เข้าถึงโดยตรง (Direct Approach) มากกว่าในการดูแลกิจกรรมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล
จะต้องสั่งการให้มีโครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่เหมาะสมสำหรับการกำกับดูแล เพื่อให้มีความชัดเจนถึงความเป็นเจ้าของและความรับผิดชอบ ในผลงานอย่างชัดเจนสำหรับการตัดสินใจและภารกิจที่สำคัญ รวมถึงความสัมพันธ์กับผู้ให้บริการหลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากภายนอก
2) หลักการที่ 2 กลยุทธ์ (Strategy)
การวางแผนกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มีความซับซ้อนและความสำคัญ
ที่ต้องมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานด้านธุรกิจ ในองค์กรและไอที จึงจำเป็นต้องให้ลำดับความสำคัญสำหรับแผนที่มีโอกาสที่จะบรรลุผลประโยชน์ตามความคาดหวังและสำหรับการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล เป้าหมายในภาพรวมต้องแปลงมาเป็นแผนยุทธวิธีที่สามารถทาให้บรรลุผลได้ เพื่อลดโอกาสเกิดความล้มเหลวหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด โดยมีเป้าหมายคือการส่งมอบคุณค่า
เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์ร่วมกันกับการพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับ
ความเสี่ยงของคณะกรรมการบริหาร แม้ว่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องถ่ายทอดแผนในลักษณะจากบน
ไปสู่ล่าง แต่แผนก็ต้องยืดหยุ่นและสามารถปรับให้รองรับความต้องการทางธุรกิจและโอกาสทางด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วย นอกจากนี้ การมีหรือขาดความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) สามารถส่งเสริมหรือขัดขวางกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ ดังนั้น
การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ควรรวมถึงการวางแผนความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่โปร่งใสและเหมาะสม โดยรวมถึงการประเมินความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และทรัพยากรบุคคลในปัจจุบัน เพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจในอนาคต และพิจารณาถึงการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตที่อาจช่วยให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันและ/หรือต้นทุนที่เกิดประโยชน์สูงสุด ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) รวมถึง
ความสัมพันธ์กับผู้ขายผลิตภัณฑ์และผู้ให้บริการต่างๆภายนอก ซึ่งบางรายอาจมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน การดำเนินงานของธุรกิจ ดังนั้น การกำกับดูแลกลยุทธ์ในการจัดซื้อจัดหา จึงมีนัยสำคัญมาก
ในกิจกรรมการวางแผนกลยุทธ์ที่ต้องการทิศทางและการควบคุมดูแลจากผู้บริหารระดับสูง
3) หลักการที่ 3 การจัดซื้อจัดหา (Acquisition)
กระบวนการแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มีไว้เพื่อสนับสนุนกระบวนการด้านธุรกิจ ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังที่จะไม่นำกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบเบ็ดเสร็จด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ไปพิจารณาแยกอีกต่างหาก หรือมองเป็นเพียงแค่โครงการหรือบริการด้านเทคโนโลยีเท่านั้น ในทางกลับกัน การเลือกสถาปัตยกรรมของเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ความล้มเหลวที่จะทาให้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิคทันสมัยและเหมาะสมหรือการขาดบุคลากรที่มีทักษะ ล้วนสามารถส่งผลให้โครงการล้มเหลวและขาดความสามารถที่จะดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน หรือลดคุณค่าที่มีต่อธุรกิจ การจัดซื้อจัดหาทรัพยากรด้านไอทีจึง ควรพิจารณาเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ โดยมีปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เป็นปัจจัยสนับสนุน เทคโนโลยีที่จัดซื้อมาจะต้องสนับสนุนและสามารถทำงานร่วมกับกระบวนการทางธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่องค์กรมีอยู่แล้วและที่วางแผนการนำไปใช้งานก็ไม่ใช้เป็นเพียงแค่ประเด็นด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่จะต้องรวมไปกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ
การฝึกอบรม และการเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย ดังนั้น โครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ควรเป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการ (Programs) เพื่อการเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กร ซึ่งรวมเอาโครงการต่างๆ ที่มีการดำเนินกิจกรรมครบถ้วนในทุกด้านตามที่ต้องการเพื่อช่วยให้มั่นใจว่าจะได้รับผล
สาเร็จ
4) หลักการที่ 4 ผลการดำเนินงาน (Performance)
การวัดผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิผลขึ้นอยู่กับมุมมองหลัก 2 ด้านคือ คำจำกัดความที่ชัดเจนของคำว่า “ผลการดำเนินงานเป้าหมาย” และ “การจัดทำมาตรวัดที่มีประสิทธิผลสำหรับการเฝ้าติดตามการบรรลุเป้าหมาย” จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการในการวัดผลการดำเนินงานเพื่อให้มั่นใจว่า ผลการดำเนินงานนั้นได้รับการเฝ้าติดตามอย่างสม่ำเสมอและเชื่อถือได้ การกำกับดูแลจะมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อวัตถุประสงค์กำหนดมาจากบนลงล่างซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจในภาพรวมที่ได้รับอนุมัติ และมาตรวัดจัดทำขึ้นจากล่างขึ้นบน ซึ่งสอดคล้องไปในทางที่เอื้อให้บรรลุเป้าหมายในทุกระดับ โดยมีผู้บริหารของแต่ละระดับชั้นเฝ้าติดตามปัจจัยสาคัญ สู่ความสาเร็จในการกำกับดูแล 2 ปัจจัยคือ การที่ผู้มีส่วนได้เสียอนุมัติเป้าหมาย และการที่บุคลากรในระดับกรรมการและผู้จัดการยอมรับความรับผิดชอบในผลงาน (Accountability) ในการบรรลุเป้าหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เป็นหัวข้อที่มีความซับซ้อนและมีรายละเอียด
เชิงเทคนิค ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่สาคัญที่จะต้องมีความโปร่งใสโดยการสื่อถึงเป้าหมาย มาตรวัด
และการรายงานผลการดาเนินงานในภาษาที่เข้าใจได้ง่ายสาหรับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้มีการดำเนินการอย่างเหมาะสม
5) หลักการที่ 5 ความสอดคล้องกัน (Conformance)
ตลาดโลกในวันนี้มีอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเป็นปัจจัยเอื้อ องค์กรจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกาหนดด้านกฏหมายและกฎระเบียบข้อบังคับที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากข่าวอื้อฉาวและความล้มเหลวด้านการเงินของบริษัทต่างๆ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้คณะกรรมการเกิดความตระหนักอย่างมากในเรื่องของกฏหมายและกฎระเบียบข้อบังคับที่ออกมาบังคับใช้ ซึ่งเข้มข้นขึ้นและผลกระทบที่มีผู้มีส่วนได้เสียต้องการความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นว่า ในการดำเนินงานจริงองค์กรได้ปฏิบัติตามกฏหมายและกฎระเบียบข้อบังคับ และดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่ดี ด้านการกำกับดูแลองค์กรแล้ว นอกจากนี้ จากการที่เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ได้เอื้อให้เกิดกระบวนการทางธุรกิจระหว่างองค์กรอย่างไร้รอยต่อ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมั่นใจได้ว่า สัญญาต่างๆ ครอบคลุมถึงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในเนื้อหาอาทิเช่น การรักษาความเป็นส่วนบุคคล การรักษาความลับ การรักษาสินทรัพย์ทางปัญญา และการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เป็นต้น กรรมการจำเป็นต้องมั่นใจได้ว่า การปฏิบัติ ตามข้อกำหนดจากองค์กรภายนอกถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนกลยุทธ์มากกว่าที่จะให้เกิดความเสียหายขึ้นแล้วพิจารณาภายหลัง กรรมการยังจำเป็นต้องกำหนดแนวทางจากผู้บริหารระดับสูง พร้อมทั้งกำหนดเป็นนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ผู้บริหารและพนักงานปฏิบัติตาม เพื่อให้มั่นใจว่าได้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ลดความเสี่ยง และมีการปฏิบัติตาม (กฎหมาย/กฎระเบียบข้อบังคับ) ผู้บริหารระดับสูงจะต้องทำให้เกิดความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการปฏิบัติตาม (กฎหมาย/กฎระเบียบข้อบังคับ) เพื่อให้มั่นใจว่าเป้าหมายของประสิทธิภาพในการดำเนินงานไม่ขัดแย้งกับการปฏิบัติตาม (กฎหมาย/กฎระเบียบข้อบังคับ) และในทางตรงกันข้าม การปฏิบัติตาม (กฎหมาย/กฎระเบียบข้อบังคับ) ก็ต้องมีความเหมาะสม ไม่เข้มงวดมากจนเกินไปกับการดำเนินธุรกิจ
6) หลักการที่ 6 พฤติกรรมบุคคล (Human Behavior)
การนำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยเอื้อไปใช้งาน ซึ่งรวมถึงการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นนัยสาคัญต่อวัฒนธรรมและพฤติกรรมภายในองค์กร เช่นเดียวกับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งอาจสร้างความวิตกและความไม่เข้าใจให้เกิดขึ้นท่ามกลางกลุ่มพนักงาน ดังนั้น การนำไปใช้จึงจำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างระมัดระวังเพื่อให้บุคลากรยังคงมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน และกรรมการจะต้องสื่อสารเป้าหมายอย่างชัดเจนและแสดง
ให้เห็นว่าเป็นผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่นำเสนอนั้น การฝึกอบรมและการเพิ่มทักษะของบุคลากรเป็นกุญแจสาคัญสำหรับการปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนเแปลงด้านเทคโนโลยที่มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีผลกระทบต่อบุคลากรทุกระดับในองค์กรไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้จัดการ และผู้ใช้งานหรือผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับไอทีและกระบวนการแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จให้กับองค์กร และกระบวนการแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จแก่ธุรกิจ นอกจากส่งผลกระทบภายในองค์กรแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ยังส่งผลกระทบต่อลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ทั้งยังเอื้อให้เกิดการบริการตนเองและการทำธุรกรรมอัตโนมัติระหว่างองค์กรทั้งภายในประเทศและข้ามประเทศ แม้ว่ากระบวนการทางธุรกิจที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เป็นปัจจัยเอื้อจะนำมาให้เกิดประโยชน์และโอกาสใหม่ แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงต่างๆที่เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ ประเด็นปัญหา ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลและการทุจริตเป็นเรื่องที่บุคคลมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น และความเสี่ยงนี้พร้อมทั้งความเสี่ยงอื่นๆ ต้องได้รับการจัดการเพื่อให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่นในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่ใช้อยู่ นอกจากนี้ ระบบสารสนเทศยังส่งผลกระทบต่อแนวปฏิบัติในการทำงานอย่างมากโดยการแปลงขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ที่ดำเนินการด้วยคนให้เป็นการทำงานโดยอัตโนมัติ
ที่มา : กรอบการดาเนินงานทางธุรกิจสาหรับการกากับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กรและ COBIT5 : ISACA
Q8 สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) คืออะไร
ตอบ สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) คือ กระบวนในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) มาสนับสนุนการดำเนินงานธุรกิจ (Business)
ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์กร แม้ว่าสถาปัตยกรรมองค์กรจะเน้นในเรื่องความสอดคล้องกันของการดำเนินงานด้านธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างไรก็ตามด้านความมั่นคงปลอดภัยก็ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ ซึ่งจะช่วยให้ทั้งการดาเนินงานธุรกิจและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปด้วยความถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และตรวจสอบได้ เป็นเวลาเกือบ 30 ปีที่ผ่านมาที่นักวิจัยและนักปฏิบัติเริ่มมีการศึกษาถึงการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กร จากอดีตจนถึงปัจจุบันกรอบแนวความคิดและหลักการในการพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรถูกนำเสนอขึ้นมามากมาย
โดย The Zachman Framework for Enterprise Architecture ถือเป็นกรอบของสถาปัตยกรรมองค์กรแรกที่ถูกนำเสนอ ในปี พ.ศ. 2530 และเป็นกรอบแนวคิดที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นจานวนมาก นอกจากนี้ยังมีกรอบแนวคิดอื่นที่ได้ถูกนำมาปรับใช้เช่น The Open Group Architecture Framework (TOGAF) และ Federal Enterprise Architecture (FEA)
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)ที่มา : สถาปัตยกรรมองค์กรของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) E-Governmant Agency (EGA)
Q9 กระบวนการถ่ายทอดการวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture: EA)
ให้กับคู่ค้า ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ขอสอบถามว่า จะมีการถ่ายทอดอย่างไรและประเมินการรับรู้
ได้อย่างไร โดยการประเมินแบบสอบถามออนไลน์เป็นการประเมินการรับรู้ให้กับคู่ค้า ลูกค้า และผู้มีส่วน
ได้ส่วนเสียอื่น ได้หรือไม่
ตอบ ทุกกระบวนการในการประเมินหัวข้อการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology : DT) จะต้องมีการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวกับกระบวนการนั้นๆ ซึ่งจะมีจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ที่แตกต่างกัน โดยในส่วนของการถ่ายทอดแนวทางการวิเคราะห์สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture: EA) ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขึ้นอยู่กับวิธีการหรือแนวทางของรัฐวิสาหกิจ เนื่องจาก
การถ่ายทอดไปแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีรูปแบบที่หลากหลาย แต่ประเด็นที่สำคัญคือต้องสามารถ
วัดผลการรับรู้แนวทางดังกล่าวที่ได้ถ่ายทอดไปด้วย
Q10 ถ้าหากไม่มีคณะกรรมการด้าน IT เป็นการเฉพาะ มีเพียงคณะกรรมการด้าน IT ที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานในสังกัด
ทั้งนี้ ควรจะเชิญบุคคลใดเป็นจากคณะกรรมการทีมีความรู้เทคโนโลยีมาเป็นประธานของคณะกรรมการ IT หรือไม่ เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลงานด้าน IT
ตอบ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาขององค์กร โดยแนวทาง Best Practices ขององค์กรขนาดใหญ่ โครงสร้างการกำกับด้านดิจิทัล ควรมีคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมาเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนการนำดิจิทัล มาปรับใช้กับทุกส่วนขององค์กร โดยองค์กรขนาดเล็กอาจไม่จำเป็น แต่อย่างไรก็ตามโดยลักษณะของรัฐวิสาหกิจ การจะขับเคลื่อนประเด็นใดให้มีประสิทธิภาพ ส่วนมากก็ควรจะได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ เกณฑ์การประเมินจะไม่จำกัดรูปแบบโครงสร้างการกำกับดูแล แต่จะดูผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพของการกำกับดูแล มากกว่า
Q11 สอบถามเรื่องการกำกับครับ หากรัฐวิสาหกิจมีการปรับปรุงคำสั่งอำนาจหน้าที่ของคณะ IT Steering โดยไม่ได้ระบุอำนาจหน้าที่และความถี่ให้รายงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพื่อทราบ แต่ให้รายงานผู้อำนวยการแทนที่มีฐานะเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจและเป็นเลขานุการคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจด้วย เพื่อนำเข้าที่ประชุมให้รับทราบได้หรือไม่
ตอบ ประเด็นกระบวนการกำกับดูแลฯ เกณฑ์การประเมินไม่ได้กำหนดรูปแบบโครงสร้างและกระบวนการ ขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐวิสาหกิจนั้นๆ กำหนด โดยต้องมีแนวทางที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนในทุกประเด็น และที่สำคัญต้องสามารถ บอกได้ว่า สิ่งที่ดำเนินการตามแนวทางนั้นมีประสิทธิภาพ เช่น กำหนด KPI วัดประสิทธิผลของกระบวนการ เป็นต้น
Q12 การกำหนดกรอบทิศทางการกำกับดูแลด้านการบริหารจัดการ Digital Governance จำเป็นต้องมีการจัดทำนโยบายหรือไม่
ตอบ โดยปกติการกำกับดูแลจะต้องมีนโยบายกำกับดูแลฯ ที่ครอบคลุมการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
ทั้งองค์กร เพื่อนำไปเป็นกำหนดแนวทางในการปฏิบัติในแต่ละด้าน ซึ่งหลักการกำกับที่สำคัญมี 3 ประเด็น คือ การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส
และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
Q13 ขอสอบถามตัวชี้วัดที่ 6.4 การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management : BCM) ที่ค่าเกณฑ์วัดระดับที่ 3 “รัฐวิสาหกิจมีการถ่ายทอดกระบวนการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจแก่ผู้รับผิดชอบ พนักงาน ผู้ส่งมอบ คู่ค้าที่สำคัญ ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน มีการประเมินการรับรู้ ของผู้รับผิดชอบ พนักงาน ผู้ส่งมอบ คู่ค้าที่สำคัญ ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน” นั้น ต้องเป็นการประเมินการรับรู้ของบุคคลใด และประเมินระดับไหน
ตอบ หลักการพื้นฐานของการประเมินด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) ในทุกกระบวนการจะต้องมีการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการให้ครบถ้วน เพื่อถ่ายทอดแนวทาง และผลผลิตของกระบวนการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มีการรับรู้ รวมถึงการประเมินผลการรับรู้ของผู้ส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์แต่ละกระบวนการ
Q14 การประเมินตัวชี้วัดที่ 6.4 การบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management : BCM) ของด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เป็นการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลหรือการบริหารจัดการทุกด้านขององค์กร รวมถึงการบริหารจัดการพนักงานในสถานการณ์ การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ด้วยหรือไม่
ตอบ แนวทางการประเมินตัวชี้วัดดังกล่าวเป็นการประเมินการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management : BCM) ในการบริหารจัดการทุกด้านขององค์กร ซึ่งจะพิจารณาจากแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan :BCP) และแผนดำเนินงานที่จะต้องเตรียมไว้ในการกู้ระบบ
ในกรณีที่ระบบล่ม (System Down) (Disaster Recovery Planning :DRP) โดยสถานการณ์
การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ควรกำหนดเป็นปัจจัยหนึ่งในการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis) ทั้งนี้ การประเมินผลในตัวชี้วัดจะพิจารณาการบริหารจัดการองค์กรภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวด้วย.
Q15 เกณฑ์การประเมินผลด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) ตัวชี้วัดที่ 6.4 การบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management : BCM)
ที่ครอบคลุมระบบงานที่สำคัญ อย่างครบถ้วน (ทั้ง 8 เกณฑ์) ซึ่ง 8 เกณฑ์ คืออะไร
ตอบ เกณฑ์การประเมินผล Enablers ทั้ง 8 ด้าน