กรอบแนวทางการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ตามระบบ State Enterprise Assessment Model (SE-AM)
กรอบแนวทางการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ตามระบบ State Enterprise Assessment Model (SE-AM) แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้
๑. ผลการดำเนินงาน (Key Performance Area) (น้ำหนักร้อยละ ๖๐ +/- ๑๕) ได้แก่
๑) การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
๒) ผลการดำเนินงานที่สำคัญ (Key Result) เช่น ผลการดำเนินงานตามภารกิจที่สำคัญ, แผนงานโครงการที่สำคัญที่สะท้อนประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลสัมฤทธิ์ เป็นต้น โดยเป็นการพิจารณากำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของคณะอนุกรรมการจัดทำบันทึกข้อตกลงและการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ รายสาขา (SubPAC)
๒. ด้าน Core Business Enablers (น้ำหนักร้อยละ ๔๐ +/- ๑๕) ประกอบด้วยการประเมินผล ๘ ด้าน ได้แก่
๑) ด้านการกำกับดูแลที่ดีและการนาองค์กร
๒) ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์
๓) ด้านการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน
๔) ด้านการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้า
๕) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
๖) ด้านการบริหารทุนมนุษย์
๗) ด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม
๘) ด้านการตรวจสอบภายใน
โดยเป็นการพิจารณาตามรายละเอียดคู่มือการประเมินผลการดาเนินงานด้าน Core Business Enablers และพิจารณาผลประเมินของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการประเมินผลการพัฒนาองค์กรของรัฐวิสาหกิจ ภาพรวม และคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการประเมินผลการพัฒนาองค์กรของรัฐวิสาหกิจ แต่ละด้าน โดยมีรายละเอียดปรากฎ ดังนี้
ทั้งนื้ ในปีบัญชี ๒๕๖๓ คณะกรรมการประเมินผลกำหนดน้ำหนัก การประเมินผลด้าน Core Business Enablers ที่ร้อยละ ๔๐ โดยน้ำหนักคะแนนของแต่ละ Enablers อยู่ที่ ๕ คะแนนเท่ากันทุกแห่งยกเว้นรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในกลุ่มฟื้นฟู และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (บมจ. อสมท.) นอกจากนี้
คณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจได้พิจารณาแนวทางการประเมินผลด้าน Core Business Enablers ในช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นระยะเวลา ๒ ปี (ปีบัญชี ๒๕๖๓-๒๕๖๔) เพื่อให้รัฐวิสาหกิจ
มีระยะเวลาเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับระบบ State Enterprise Assessment Model (SE-AM)
หลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ (Core Business Enablers ของรัฐวิสาหกิจ ปีบัญชี ๒๕๖๓
การประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ (Enablers) ของรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย ๘ หลักเกณฑ์ ได้แก่
๑) การกำกับดูแลที่ดีและการนำองค์กร (Corporate Governance & Leadership : CG & Leadership)
๒) การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Planning : SP)
๓)การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน (Risk Management & Internal Control : RM &IC)
๔) การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และลูกค้า (Stakeholder & Customer Management : SCM)
๕) การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology: DT)
๖) การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management: HCM)
๗) การจัดการความรู้และนวัตกรรม (Knowledge Management & Innovation Management: KM&IM)
๘) การตรวจสอบภายใน (Internal Audit : IA)
โดยมีแนวทางในการประเมินตามบริบทของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
การมีนโยบาย/ระบบ หลักการ หรือกระบวนการ หมายถึง การที่รัฐวิสาหกิจสามารถแสดงแนวทางวิธีการดำเนินงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ โดยสามารถแสดงผ่าน ขั้นตอนการดำเนินงานคู่มือการปฏิบัติงาน SIPOC หรือการดำเนินงานใด ๆ ที่สามารถแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องนั้น มีการดำเนินการโดยหน่วยงานใด ดำเนินการอย่างไร ดำเนินการเมื่อใด หรือแสดง/อธิบายผ่าน ๕W๑H (what when where why who how) ได้อย่างชัดเจน ไม่จำเป็นต้องแสดงผ่าน SIPOC เพียงอย่างเดียว
การประเมินผลการดำเนินงานที่ระบุว่า “ทำจริงอย่างทั่วถึง/สม่ำเสมอ” และ “มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” มีแนวทางในการพิจารณา ดังนี้
๑) ทำจริงอย่างทั่วถึง/สม่ำเสมอ : การถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติให้ทั่วถึงทั้งองค์กร โดยการสร้างความมั่นใจ ในการดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าวในทุกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการนั้นๆ ได้อย่างครบถ้วน
๒) ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง : ปรับปรุงกระบวนการที่ผ่านมา โดยใช้ฐานข้อมูลจริงเพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานและการปรับปรุงกระบวนการดังกล่าวสามารถแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากการปรับปรุงกระบวนการนั้น
สำหรับการประเมินตามบริบทของรัฐวิสาหกิจมีแนวทางในการพิจารณา เช่น พิจารณาตามนโยบาย/ทิศทาง/ยุทธศาสตร์ของรัฐวิสาหกิจ ลักษณะการดำเนินธุรกิจ ความเพียงพอของทรัพยากร (บุคลากร งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ) ข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย กฎ